Back to All Events

COVID-19 Rapid Response: Updates from the frontlines in Thailand

Image by © The Freedom Story.


Together with the USAID Asia Counter Trafficking in Persons program implemented by Winrock International, we hosted the third webinar in our COVID-19 'Rapid Response' series.

Our panelists from Thailand share their views on the new set of challenges and vulnerabilities for migrants and non-Thai populations due to the current crisis, including issues related to accessing social security payments and the need for deadline extensions due to delays in the permit extension and national verification process.

During the session, the audience had the opportunity to vote for questions that were of particular interest to them. Some of the questions discussed include:

  • Did the government state that migrant workers will have to cover the costs for quarantine, or is there scope to call on employers to pay these costs?

  • What are the responses of stakeholders in relation to fishermen working on boats?

  • Do you observe any significant gap in the social safety net to meet the needs of returned migrant workers (and their families) and internally displaced persons in Thailand?


Speakers:

Nathalie Hanley, IOM Thailand

Veerawit Tianchainan, The Freedom Story

Harley Hamilton, World Vision Thailand

Preeda Tongchumnum, Solidarity Center Thailand

Kyril Sukklin (Moderator), Winrock International

Full Summary

Thailand went into lockdown on the 18th of March, declaring a state of emergency that forced factories and businesses to close. We know that migrants and non-Thai populations – irrespective of their legal status – face a new set of challenges and vulnerabilities due to the current crisis.

Update from Nathalie Hanley, IOM Thailand

Since the state of emergency was declared in Thailand, there have been an estimated 200 000 returns of migrants to neighboring countries such as Myanmar, Laos, and Cambodia. There continue to be mobility restrictions imposed within Thailand, as well as the continued postponement of approval for MoU workers to return back to Thailand. Discussions about potentially reopening the borders in June are ongoing. 

There are several challenges linked to the current situation, including the capacity of quarantine facilities in bordering provinces. Currently, most quarantine facilities only have capacity for about 100 or 200 returns. The Thai government has indicated that they will not cover the costs for multi-nationals to be quarantined, so this supplementary cost will have to be borne by the migrant workers.

There have been a number of supportive measures by the Royal Thai government:

-        Extensions of stay that are depending on the type of work permit and whether migrants were registered.

-        Launch of the COVID-19 hotline by the Ministry of Public Health in partnership with the World Health Organization, and other NGOs for migrants from Cambodia, Laos and Myanmar to access information in local languages about COVID-19 and access to COVID-19 related health care.

Areas of concerns include:

-        The continued detention of migrants that don’t fall under the categories eligible for extension of stay. Unfortunately, this includes mothers and children. This is especially concerning, because of recent outbreaks in immigration detention centers.

-       Very severe socio-economic impacts on non-Thai nationals in Thailand. Many have not been able to access the 5000 THB payment for those working in the informal sectors, and even those who have been employed have reported challenges in accessing compensation payments from the Office of Social Security.

IOM has worked to address these issues through the following:

-        Supporting coordination with respect to issues affecting migrant workers or other categories of multinationals;
-        Advocacy with a range of different stakeholders;
-        Facilitating access to information for migrants, as well as employers and recruiters;
-        Data collection efforts,
-        Direct assistance,
-        and also efforts to support health and border management.

 Update from Harley Hamilton, World Vision Thailand

World Vision has seen a large impact on the work of local governments in Thailand. Central government ministries and departments of Bangkok have started to pull funding from provincial government offices to repurpose some of those funds to respond to COVID-19. As a consequence, local governments responsible for providing services to migrant populations, survivors and victims of human trafficking have had no money to carry out any activities.

Due to these budget restrictions, there has been very little research or data collection on a local level. Feedback from local government departments has been that they are relying on NGOs for data and understanding what the impact of COVID-19 has been on migrant populations, and the lack of official statistics at the provincial local level means that the scope of the problem and the level of vulnerability is not fully understood.

World Vision’s initial response has primarily been a public health one, and includes:

-        Provision of Personal protective equipment (PPE)
-        Information materials on the protection and prevention of COVID-19 in various languages
-        Training for community health volunteers, ToT training around media and resources to be distributed both online and offline 

Discussions on economic recovery response continue:

-        Exploring the possibility of cash transfers
-        Social security for migrants and ensuring that migrants can access their entitlements and rights that they're entitled to under law

Update from Veerawit Tianchainan, The Freedom Story

The Freedom Story works with the stateless and migrant populations in Chiang Rai. The Freedom Story has set up a coalition, called the Coordination Center for COVID-19 assistance, together with 12 organizations, and work closely with the USAID Thailand CTIP program. 

Assistance efforts currently focus on three areas: food, public health, and access to information. The Freedom Story has been setting up a task force to distribute facial masks and hand sanitizer, and providing health information. Together with Winrock International, the Freedom Story is working to provide standard COVID-19 training to community volunteers.

There are a lot of practical problems that happen locally: 

1)     First of all, many of the migrants are affected because they lost their job, or they have been told by the employer to reduce their working hours or the number of days of work. They don't have enough money to buy food or pay rent, risking eviction. So far, the Freedom Story has been providing some support and help in negotiating with landlords. 

2)     Some pregnant women the Freedom Story works with no longer have the financial means to care for their children after delivery.

3)     There is little cooperation from the government agencies in Chiang Rai. For example, the Department of Labor are not really cooperative. The practical challenge is that the workers either don't know about a right to Social Security, or if they are aware of their rights to social security, but they cannot access for a practical reason and are afraid to enforce their rights.

While we can expect a relaxation of the current lockdown in Thailand, we can also expect a second lockdown, like in Singapore, South Korea and other countries. Many migrant workers are now waiting at home to return to normal, but this is unlikely to happen. So the Freedom Story is also working with migrants to identify the longer-term needs if they're still in the same situation. 

According to the official numbers, there are 30,000 migrant workers in Chiang Mai alone. Without an official survey, we do not know what exactly the situation is and cooperation with local government is crucial to conduct an official data collection. The Freedom Story have seen great support from other organizations in Chiang Mai, and have been negotiating with donors to adjust activities to cater to the immediate needs of migrant workers during this situation.

Update from Preeda Tongchumnum, Solidarity Center Thailand

Issues to highlight on the current situation:

1)     The One-Stop-Service centers that facilitate the national verification process, which allowed migrants who had arrived via irregular channels to obtain a quasi-legal status, are closed. Many migrant workers were not able to process their documentation by the end of March. Solidarity Center, together with the Migrant Worker Group, issued an official letter to the government urging them to extend the period for the extension of the NVP for workers that were not able to complete the process. The government decided to extend the deadline to the end of November.

2)     Many workers under the MOU and Border-Employment Program are unable to cross the border back to their country of origin. Solidarity Center requested an extension of the right to stay and work for workers under the MOU and Border-Employment Program. Workers are allowed to stay in Thailand until the end of May, and for now, the borders are scheduled to re-open in June.

3)     Unemployment benefits under the social security system are difficult to access for migrant workers. Even if they are registered with the social security system, the forms to apply for benefits are only available in Thai language. They are usually no interpreters available. In many cases, the employer also failed to register the migrant worker, so that they are not eligible – which is not the migrant workers’ fault. This is particularly prevalent in the border area of Mae Sot, where many factory owners failed to provide a social security ID for migrant workers.

4)     As of mid-May, 260,000 migrant workers have registered with the Migrant Worker Group and require humanitarian support and basic assistance. There is still limited support and a need for more resources.

5)     Migrant workers want to return home. In some cases, these migrants were deceived by brokers that promised to provide transportation, but found themselves unable to cross the border. Updated, reliable and safe migration information is very much needed.

6)     Thousands of migrant workers would like to return to Thailand from Myanmar and there is need for a plan once borders open again. Currently, provincial governments are awaiting an official plan from the central government.

Q&A

Question for IOM - you mentioned that the Government will not cover costs for quarantine for returning migrant workers, and that migrant workers will have to cover those costs. Did the government state that the migrant workers will have to cover, or is there scope to call on employers to pay these costs?

There hasn’t been a final decision yet. It has been estimated that the cost for quarantine will be 15000 Thai Bath and that Non-Thai nationals have to cover these costs. IOM is currently having discussions with the government on how these costs could be covered for migrant workers, and if these costs could potentially be drawn from the social security fund or whether employers could take on some of these costs.

My questions to every panelist in relation to the response to the fishermen who are working on the boat during the Covid-19 pandemic. What are the responses of Thai governments, private sectors and other stakeholders in Thailand?

Fishers have issues to work off-shore, because of time limits for those who would like to go out under the current curfew. The government issued an announcement of relaxations for specific sectors, including fishing. The government also recently announced that they would like for more fishermen to register and that those who live in Thailand and have their identification documents can register under the current policy.

The Fishing Right Network reported that many fishers have moved back to their country of origin and intend to come back, but because of border closures are still stuck at the Cambodian-Thai border.

Do you observe any significant gap in the social safety net to meet the needs of returned migrant workers (and their families) and the internally displaced persons in Thailand? Otherwise, is there any loophole in the current government system for migrants' access to government social support and compensation?

There are many issues even for Thai nationals to register under the social security system and access benefits, which is the main concern of the government right now. For migrant workers, in many cases the employer either did not register or did not pay into the social security fund for the migrant workers. Migrant workers are only aware of this issue now when claiming benefits. (Preeda) The Social Security Law itself does not cater to some work sectors such as Agriculture, Domestic Work and Fishing. Over 100 000 migrant workers will probably not be able to access the benefits under the Social Security law.

Are the persons infected with Covid-19 in the Sadao IDC mostly Rohingya coming from Malaysia?

Most of the migrants that have been infected at the Sadao IDC are migrants from Myanmar, 18 of them are Rohingya but the majority are from Myanmar. The remainder are from Vietnam, Myanmar, Yemen, Cambodia, and India.

Are those 60+ cases of COVID found among migrants in the Sadao IDC (and other such cases in other IDCs) included in the govts publicized numbers on nationwide COVID cases?

 Yes.

Is there any advice from Thai authorities when the Cambodia-Thai border will be open to migrants?

Returns are still going on between Thailand and Cambodia, with about 100 returns a day. At the moment, the potential date for re-opening the border crossings is 1st June, but a lot remains to be determined.

สรุปเป็นลายลักษณ์อักษร

ประเทศไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเริ่มปิดสถานประกอบการต่าง ๆ รวมถึงโรงงานและธุรกิจห้างร้านตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม สถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้แรงงานต่างชาติต้องเผชิญอุปสรรคและตกอยู่ในภาวะเปราะบาง ไม่ว่าจะมีสถานณะเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

Update from Nathalie Hanley, IOM Thailand

ตั้งแต่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นต้นมา ก็คาดการณ์กันว่ามีชาวต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาราวสองแสนคน อาทิ ชาวพม่า ลาว และกัมพูชา รัฐบาลไทยยังคงจำกัดการเดินทางภายในประเทศ และยังเลื่อนการประกาศใช้บันทึกข้อตกลง (MoU) ว่าด้วยการกลับมาทำงานในราชอาณาจักรของชาวต่างชาติออกไปอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการอภิปรายอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาเปิดประเทศอีกครั้งในเดือนมิถุนายน

มีประเด็นท้าทายหลายข้อสืบเนื่องจากสถานการณ์นี้ รวมถึงความสามารถที่จะรองรับผู้ต้องกักตนระหว่างเดินทางกลับต่างประเทศในจังหวัดชายแดน ปัจจุบัน สถานควบคุมโรคสามารถรองรับผู้กักตนราว 100-200 คน ทั้งนี้ รัฐบาลไทยจะไม่รับรองค่าใช้จ่ายระหว่างกักตนของชาวต่างชาติ แรงงานต่างชาติจะต้องแบกรับค่าใช่จ่ายที่เกิดจากการกักตนระหว่างเดินทางนี้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยมีมารตรการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ดังนี้

-        ขยายเวลพำนักในราชอาณาจักร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของใบอนุญาตทำงาน และสถานะการลงทะเบียนของแรงงานต่างชาติ

-        เปิดบริการสายด่วน COVID-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับองค์การอนามัยโลกและองค์การไม่แสวงกำไรอีกจำนวนหนึ่ง สายด่วนนี้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 และบริการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องแก่ชาวต่างชาติในภาษาประจำชาติ ทั้งภาษากัมพูชา ภาษาลาว และภาษาพม่า 

ประเด็นที่น่ากังวล ได้แก่

-        การกักกันชาวต่างชาติที่ไม่เข้าเกณฑ์ได้รับขยายเวลาให้พำนักในราชอาณาจักร ซึ่งร่วมถึงแม่และเด็กชาวต่างชาติด้วย เหตุกาณณ์นี้น่ากังวลอย่างยิ่งเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคในสถานกักกันไม่นานนี้

-       ผลกระทบอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคมต่อชาวต่างชาติในประเทศไทย ชาวต่างชาติจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือจำนวนห้าพันบาทที่รัฐบาลมอบให้แก่แรงงงานนอกระบบ แม้แต่รายที่มีการจ้างงานในระบบก็ยังพบความลำบากในการเข้าถึงเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคม

 

IOM ให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานต่างชาติในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

-        สนับสนุนการประสานงานด้านปัญหาที่แรงงานต่างชาติและชาวต่างชาติได้รับผลกระทบ

-        สนับสนุนการทำงานของผู้มีส่วนร่วมในประเด็นแรงงานต่างชาติต่าง ๆ

-        อำนวยความสะดวกด้านข้อมูลข่าวสารแก่ชาวต่างชาติ นายจ้าง และบริษัทจัดหางาน

-        สำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

-        ให้ความช่วยเหลือโดยตรง

-        นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพและการจัดการพรมแดน

Update from Harley Hamilton, World Vision Thailand

World Vision พบว่าการจัดการส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยได้ผลกระทบอย่างมาก ทั้งนี้หน่วยงานและกรมต่าง ๆ จากส่วนกลางเริ่มจัดสรรงบประมาณจากส่วนท้องถิ่นเสียใหม่เพื่อนำไปเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 อันเป็นเหตุให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นขาดงบประมาณเพื่อจัดบริการและกิจกรรมกับกลุ่มชาวต่างชาติ ผู้ได้รับผลกระทบและผู้เสียหายจากการค้ามนุษย 

เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณดังกล่าว จึงมีการวิจัยและจัดเก็บข้อมูลในระดับท้องถิ่นน้อยมาก หน่วยงานส่วนท้องถิ่นต่างต้องพึ่งพาข้อมูลจากองค์การไม่แสวงผลกำไรเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ต่อชาวต่างชาติ และจากการที่ไม่มีการเก็บสถิติในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นทางการนี้เองทำให้องค์ความรู้เรื่องขอบเขตของปัญหาและระดับความประบางขาดความชัดเจน

การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นของ World Vision นั้นครอบคลุมเรื่องสาธารณสุขเป็นหลัก อาทิ

-        มอบอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคส่วนบุคคล (PPE)

-        จัดทำสื่อข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19 ในหลายภาษา

-        ฝึกอบรมแก่อาสาสมัครด้านสุขภาพในชุมชน ฝึกทักษะการเป็นผู้ฝึกอบรมในด้านสื่อ และจัดทำเครื่องมือประกอบการฝึกอบรม ซึ่งจะเผยแพร่ทั้ง online และ offline ต่อไป

นอกจากนี้ยังคงมีการหารือเรื่องแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง ในประเด็นต่อไปนี้

-        สำรวจความเป็นไปได้ของมาตรการให้เงินช่วยเหลือ (cash transfers)

-        ระบบประกันสังคมแก่ชาวต่างชาติ และการเข้าถึงสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีภายใต้กรอบกฎหมาย

Update from Veerawit Tianchainan, The Freedom Story

The Freedom Story ทำงานร่วมกับบุคคลไร้สัญชาติและกลุ่มแรงงานต่างชาติในจังหวัดเชียงราย The Freedom Story ยังได้จัดตั้ง กลุ่มประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 (Coordination Center for COVID-19 assistance) ร่วมกับ 12 หน่วยงาน ทั้งยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับโครงการ USAID Thailand CTIP อีกด้วย

ด้านการให้ความช่วยเหลือในขณะนี้มุ่งเน้นไปยังสามด้านหลัก ได้แก่ อาหาร สาธารณสุข และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร The Freedom Story จัดตั้งกลุ่มเฉพาะกิจ (task force) เพื่อแจกจ่ายหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทำความสะอาดมือ และเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพ The Freedom Story ยังร่วมมือกับ Winrock International เพื่อจัดการฝึกอบรมเรื่อง COVID-19 แก่อาสาสมัครชุมชนอีกด้วย

ในระดับชุมชน พบว่ามีปัญหาหลายประการ อาทิ

1)     แรงงานต่างชาติจำนวนมากได้รับผลกระทบจากภาวะตกงานและการลดเวลางานหรือวันทำงาน แรงงานเหล่านี้มีรายได้ไม่พอเพียงต่อการซื้อหาอาหารและจ่ายค่าเช่าที่พัก จึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะถูกขับออกจากที่พักอาศัย ที่ผ่านมา The Freedom Story ให้ความช่วยเหลือแล้วบางส่วน โดยเจรจาต่อรองกับผู้ให้เช่าที่พักเพื่อให้ผ่อนผันแก่แรงงานเหล่านี้

2)     สตรีมีภรรค์บางส่วนที่ The Freedom Story ให้ความช่วยเหลือ จะไม่มีเงินพอที่จะดูแลทารกและลูกหลังคลอด

3)     ยังมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงรายค่อนข้างน้อย เช่น จากสำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดเชียงราย แรงงานต่างชาติในพื้นที่อาจไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมของตน หรือแม้จะมีความรู้ความเข้าใจแล้วก็อาจไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้เนื่องจากเกรงกลัวที่จะเรียกร้องสิทธิของตน

แม้เราทราบว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการปิดสถานประกอบการในประเทศไทยแล้ว ก็ยังคาดการณ์กันว่าจะมีการประกาศบังคับใช้มาตรการดังกล่าวอีกเป็นครั้งที่สองเช่นเดียวกับสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ แรงงานต่างชาติจำนวนมากต่างรอให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติซึ่งอาจเป็นไปได้ยาก  The Freedom Story จึงสำรวจความช่วยเหลือที่แรงงานต่างชาติเหล่านี้ต้องการในระยะยาวหากสถานการณ์ยังคงตัวต่อไป

จากสถิติอย่างเป็นทางการ เฉพาะในจังหวัดเชียงรายก็มีแรงงานต่างชาติจำนวนสามหมื่นคนแล้ว หากไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการ เราอาจไม่สามารถทราบได้เลยว่าสถานการณ์ที่เป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร และความร่วมมือของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นมีบทบาทสำคัญมากในการจัดเก็บสถิติดังกล่าว The Freedom Story พบว่าหลายหน่วยงานในจังหวัดเชียงใหม่ต่างให้ความช่วยเหลือและต่อรองแก่ผู้บริจาคเพื่อปรับแผนการทำงานของผู้รับทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นเร่งด่วนของกลุ่มแรงงานต่างชาติในสถานการณ์ปัจจุบัน 

Update from Preeda Tongchumnum, Solidarity Center Thailand

ประเด็นที่น่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่

1)     ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One-Stop-Service centers) ซึ่งให้บริการตรวจสอบสัญชาติแก่แรงงานต่างชาติที่เข้ามายังประเทศโดยไม่ถูกกฎหมายสามารถเลื่อนสถานะเป็นกึ่งถูกต้องตามกฎหมายได้นั้นไม่เปิดให้บริการ มีแรงงานต่างชาติจำนวนมากที่ไม่ได้รับเอกสารในเดือนมีนาคม Solidary Center ร่วมกับ Migrant Worker Group ส่งหนังสือถึงภาครัฐเพื่อขอความกรุณาขยายเวลาสำหรับการตรวจลงตรา (visa) และใบอนุญาตทำงานแก่แรงงานต่างชาติที่ได้รับผลกระทบจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งภาครัฐก็ได้ให้ความร่วมมือและขยายเวลาไปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน  

2)     แรงงานต่างชาติภายใต้ข้อตกลง (MoU) และโครงการจ้างงานระหว่างประเทศจำนวนมากไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนได้ Solidarity Center จึงร้องขอขยายกำหนดพำนักในราชอาณาจักรแก่แรงงานเหล่านี้ และได้รับอนุญาตให้ขยายกำหนดพำนักในราชอาณาจักรไปจนสิ้นเดือนพฤษภาคม โดยประเทศไทยมีกำหนดเปิดพรมแดนอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 

3)     สวัสดิการกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมนั้นเข้าถึงได้ยากสำหรับกลุ่มแรงงานต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นแรงงานต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมแล้วก็ตาม เนื่องจากแบบคำร้องต่าง ๆ นั้นใช้ภาษาไทยแต่เพียงภาษาเดียว และโดยปกติแล้วไม่มีล่ามให้บริการ ในหลายกรณีพบว่าเป็นความผิดพลาดของนายจ้างที่มิได้ขึ้นทะเบียนแกลูกจ้างชาวต่างชาติจึงทำให้แรงงานไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้โดยปริยาย ซึ่งเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้พบได้มากในเขตพรมแดนอำเภอแม่สอด โดยเจ้าของกิจการโรงงานต่าง ๆ มักมิได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างชาวต่างชาติ

4)     จนถึงกลางเดือนพฤษภาคมนี้ มีแรงงานชาวต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนกับ Migrant Worker Group จำนวน 260,000 คน ต้องการความช่วยเดือนทางมนุษยธรรมและความจำเป็นพื้นฐาน ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรและยังคงต้องการความสนับสนุนเพิ่มเติม

5)     แรงงานต่างชาติต้องการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา ในบางกรณี แรงงานเหล่านี้ถูกนายหน้าหลอกลวงโดยให้สัญญาว่าจะพาเดินทางกลับแต่กลับไม่สามารถข้ามพรมแดนได้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางข้ามพรมแดนที่เป็นปัจจุบัน ปลอดภัย และเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน

6)     แรงงานชาวต่างชาติหลายพันคนจากพม่าต้องการเดินทางกลับมายังประเทศไทย ซึ่งแรงงานเหล่านี้จำเป็นต้องเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับการเปิดพรมแดนอีกครั้งในอนาคต ปัจจุบัน ส่วนราชการท้องถิ่นยังคงรอแผนราชการจากส่วนกลาง

Q&A

คำถามถึง IOM – Nathalie กล่าวว่าภาครัฐไม่รับรองค่าใช้จ่ายในการกักตนของแรงงานต่างชาติที่เดินทางกลับภูมิลำเนา และแรงงานต่างชาติจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วยตนเอง ข้อมูลนี้มาจากคำกล่าวโดยตรงของภาครัฐเอง หรือว่ามาจากการหมายให้เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว

ยังไม่มีการตัดสินใจเด็ดขาดในเรื่องนี้ ประมาณการกันว่าค่าใช้จ่ายในการกักตนตกอยู่ราว 15,000 บาท และผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ด้วยตนเอง ทาง IOM กำลังหารือกับรัฐบาลไทยว่าจะให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างชาติเรื่องค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง โดยมีแนวทางหารือว่าสิทธิประกันสังคมสามารถครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้หรือไม่ หรือนายจ้างควรมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่างดังกล่าวหรือไม่และมากน้อยเพียงใด

คำถามถึงวิทยากรทุกท่าน – เกี่ยวกับแรงงานบนเรือประมงในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 รัฐบาลไทย ภาคธุรกิจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ มีมาตรการและตอบสนองอย่างไรบ้าต่อสถานการณ์ดังกล่าวในประเทศไทย

แรงงานประมงประสบปัญหาอันสืบเนื่องมาจากการทำงานบนเรือประมงประกอบกับข้อจำกัดเรื่องการออกจากเคหสถานนอกเวลาที่กำหนด (curfew) ทั้งนี้รัฐบาลประกาศผันปรนให้แก่กิจการบางประเภทรวมถึงภาคประมงด้วย อีกทั้งรัฐบาลยังประกาศสนับสนุนให้แรงงานประมงขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง โดยแรงงานต่างชาติผู้พำนักในราชอาณาจักรและมีเอกสารแสดงตนสามารถขอขึ้นทะเบียนได้ภายใต้นโยบายในขณะนี้

The Fishing Right Network รายงานว่าแรงงานประมงชาวต่างชาติจำนวนมากที่กลับไปยังกลับภูมิลำเนาแล้วต่างประสงค์จะเดินทางมายังประเทศไทยอีก แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากไทยยังปิดพรมแดน จึงทำให้ติดอยู่ที่พรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา

ท่านพบช่องโหว่ใดหรือไม่ในระบบการจัดการการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาของแรงงานต่างชาติและครอบครัว รวมถึงผู้พลัดถิ่นด้วยเช่นกัน หากไม่ ท่านพบว่ามีช่องโหว่ในการจัดการของภาครัฐด้านการเข้าถึงบริการทางสังคมและเงินชดเชยของแรงงานชาวต่างชาติหรือไม่

ระบบประกันสังคมของไทยมีข้อบกพร่องด้านการเข้าถึงสิทธิประโยชน์อยู่มากแม้แต่กับชาวไทยเองก็ตาม ซึ่งนี่ก็เป็นประเด็นที่รัฐบาลกังวลเป็นอย่างมากในขณะนี้ สำหรับแรงงานชาวต่างชาติ มีหลายครั้งที่ปัญหาเกิดจากนายจ้างมิได้ขึ้นทะเบียนแก่ลูกจ้างเพื่อเข้าระบบประกันสังคม ซึ่งแรงงานเองก็เพิ่งตระหนักถึงปัญหานี้จากการยื่นขอสิทธิประโยชน์ในระยะ

กฎหมายเกี่ยวกับระบบประกันสังคมเองก็มิได้ครอบคลุมแรงงานบางภาคส่วน อาทิ ภาคเกษตรกรรม งานรับใช้ในบ้าน (domestic work) และภาคประมง อาจมีแรงงานต่างชาติจำนวนมากกว่าแสนคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้อันเนื่องมาจากช่องโหว่ทางกฎหมายนี้

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสถานกักกันอำเภอสะเดา ส่วนมากเป็นชาวโรฮิงญาที่เดินทางมาจากประเทศมาเลเชียใช่หรือไม่

ผู้ต้องกักที่ติดเชื้อในสถานกักกันอำเภอสะเดานั้น ส่วนมากเป็นชาวพม่า มีชาวโรฮิงญาจำนวน 18 คน แต่ส่วนมากนั้นเป็นชาวพม่า นอกจากนี้ยังมีชาวเวียดนาม เยเมน กัมพูชา และอินเดีย

ในจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสถานกักกันอำเภอสะเดาจำนวนหกสิบกว่าราย (และจากสถานกักกันอื่นด้วย) นั้น ได้รับการรวมไปในยอดผู้ป่วยรวมทั้งประเทศของไทยที่รัฐบาลไทยประกาศหรือไม่ 

ถูกรวมอยู่ในยอดรวมนั้นแล้ว

มีคำแนะนำใดจากรัฐบาลไทยหรือไม่ว่าจะมีการเปิดพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชาแก่แรงงานชาวกัมพูชาเมื่อใด 

การเดินทางกลับภูมิลำเนาไปยังกัมพูชายังคงเปิดอยู่ในขณะนี้ โดยมีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาราวหนึ่งร้อยคนต่อวัน ณ ขณะนี้ กำหนดการเปิดพรมแดนที่มีความเป็นไปได้ คือ วันที่ 1 มิถุนายน ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ยังรอการตัดสินใจ